ประวัติ ตำบลสิงห์

 ตำบลสิงห์มีประวัติทางชุมชนเป็นระยะเวลานานก่อนสมัยประวัติศาสตร์จากการขุดพบโครงกระดูกที่ริมฝั่งแม่น้ำแควน้อยภายในอุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ เป็นที่ตั้งโบราณสถานที่สำคัญ คืออุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ แสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองไม่น้อยกว่า ๑,๐๐๐ ปี ยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น เมืองสิงห์ยังจารึกว่าให้เป็นเมืองหน้าด่านในการป้องกันชายแดนไทยพม่า ในรัชกาลที่ ๕ เมืองสิงห์ได้ถูกยุบจากเมืองหน้าด่านเป็นตำบลขึ้นกับอำเภอไทรโยค ตามการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นมณฑลในขณะนั้น ต่อมาตำบลสิงห์นั้นมีพื้นที่กว้างใหญ่ติดชายแดนพม่าที่หมู่ที่ ๒ บ้านบ้องตี้และหมู่ที่ ๓ บ้านศรีมงคล จึงแยกไปตั้งเป็นตำบลใหม่เป็นตำบลบ้องตี้และตำบลศรีมงคล ทำให้ตำบลสิงห์มีขนาดเล็กลงและแบ่งเขต การปกครองใหม่ เป็น ๖ หมู่บ้านอย่างในปัจจุบัน มาตั้งแต่เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๗ เป็นต้นมา


 
ข้อมูลทั่วไป
 

สภาพทั่วไป

ตำบลสิงห์ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของ อ.ไทรโยค ห่างจากที่ว่าการอำเภอประมาณ ๒๒ กม. ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ ๔๕ กม. มีเนื้อที่ ๘๗ ตร.กม. หรือ ๕๔,๓๗๕ ไร่  

 

ภูมิประเทศ

ตำบลสิงห์มีลักษณะภูมิประเทศของตำบลสิงห์ส่วนใหญ่เป็นที่ราบเชิงเขา บางส่วนเป็นที่ราบลุ่มติดแม่น้ำ ด้านทิศตะวันตกจดแม่น้ำแควน้อยและเป็นอาณาเขตของตำบลพื้นที่ลาดเอียงเทจากทิศตะวันออกไป ทิศตะวันตกลงสู่แม่น้ำแควน้อย ดินมีลักษณะร่วนสีดำในเขตราบลุ่มแม่น้ำร่วนสีแดงในเขตราบลุ่มเชิงเขา มีความอุดมสมบูรณ์ปานกลางสภาพอากาศร้อนในฤดูแล้งที่ยาวนาน ฤดูฝนจะเริ่มประมาณเดือนพฤษภาคม – ตุลาคม ของแต่ละปี ฝนไม่ต้องตกตามฤดูกาล ไม่มีแหล่งกักเก็บน้ำธรรมชาติเพื่อการเกษตรในพื้นที่ อยู่ในเขตหวงห้ามทางทหาร ตาม พรก. ๒๔๘๑ ทั้งตำบล ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๗ ทหารยกให้ สปก.นำมาออกเอกสารสิทธิ์ สปก.๔ – ๐๑ บางส่วน และบางส่วนมีเอกสารสิทธิ์เป็น นส.๓, นส.๓ ก. ที่เหลือมีเพียงใบเสียภาษี ภบท.๕ เพียงอย่างเดียว

 

ภาพแผนที่แสดงตำแหน่งที่ตั้งตำบลสิงห์ อำเภอไทรโยคจังหวัดกาญจนบุรี

 

 

อาณาเขต

ตำบลสิงห์ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของอำเภอไทรโยค ห่างจากที่ว่าการอำเภอไทรโยค ประมาณ ๒๒ กิโลเมตร และห่างจากจังหวัดกาญจนบุรี ประมาณ ๔๒ กิโลเมตรโดยมีอาณาเขตดังนี้

ทิศเหนือ  ติดกับ  ตำบลวังด้ง  อำเภอเมือง, ตำบลลุ่มสุ่ม อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี
ทิศใต้    ติดกับ   ตำบลบ้านเก่า  อำเภอเมือง  จังหวัดกาญจนบุรี
ทิศตะวันออก ติดกับ ตำบลบ้านเก่า ตำบลวังด้ง ตำบลลาดหญ้า  อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี
ทิศตะวันตก  ติดกับ   ตำบลศรีมงคล  อำเภอไทรโยค  จังหวัดกาญจนบุรี

 

การปกครอง - จำนวนประชากร

ตำบลสิงห์ มีหมู่บ้านจำนวน  ๖ หมู่บ้าน ดังนี้ 

หมู่ ๑ บ้านปากกิเลน

หมู่ ๒ บ้านวังสิงห์

หมู่ ๓ บ้านหนองปลาไหล

หมู่ ๔ บ้านหนองปรือ

หมู่ ๕ บ้านพุไม้แดง

หมู่ ๖ บ้านท่าตาเสือ

มีจำนวน ๒,๒๑๖ ครัวเรือน ประชากรทั้งสิ้น ๕,๑๓๕ คน

ที่มา  :  สำนักงานบริหารทะเบียน กรมการปกครอง ณ เดือน มิถุนายน พ.ศ.  ๒๕๖๒

 

สภาพเศรษฐกิจ

ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรม ทำไร่มันสำปะหลัง ไร่อ้อย ข้าวโพด และเลี้ยงสัตว์บางส่วน

 

สภาพสังคม

  • ด้านการศึกษา
    - โรงเรียนประถมศึกษา มี ๓ แห่ง คือ
    ๑ โรงเรียนวัดปากกิเลน
    ๒ โรงเรียนบ้านหนองปรือ
    ๓ โรงเรียนบ้านท่าตาเสือ
    - โรงเรียนประถมศึกษาขยายโอกาส เปิดสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มี ๑ แห่ง
    ที่ โรงเรียนบ้านวังสิงห์ หมู่ ๒ ตำบลสิงห์ อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี
      

เมื่อนักเรียนจบการศึกษาจากในระดับประถมศึกษาจากโรงเรียนในพื้นที่ จะเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนขยายโอกาสในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่ โรงเรียนบ้านวังสิงห์ หมู่ ๒ ตำบลสิงห์ อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี หรือในระดับมัธยมศึกษาต้อนต้นถึงตอนปลาย ที่ โรงเรียนไทรโยคมณีกาญจน์วิทยา โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรี ๑ (บ้านเก่าวิทยา) และมีบางส่วนเลือกศึกษาต่อในโรงเรียนของอำเภอเมือง

-   ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มี ๒ แห่ง

๑. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านปากกิเลน ตั้งอยู่ที่ ๑ ตำบลสิงห์ อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี


๒. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านวังสิงห์ ตั้งอยู่ที่ ๒ ตำบลสิงห์ อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี

  1. สถาบันและองค์กรทางศาสนา
    - วัด มี ๗ แห่ง
    ๑ วัดปากกิเลน
    ๒ วัดสิงห์ไพบูลย์ประชาสรรค์
    ๓ วัดถ้ำเสือดาว
    ๔ วัดหนองปรือ
    ๕ วัดพุปลู
    ๖ วัดป่าหลวงตามหาบัวญาณสัมปันโน
    ๗ วัดท่าตาเสือ
    - สำนักสงฆ์ มี ๓ แห่ง
    ๑ ที่พักสงฆ์สันติกาญจน์เจริญธรรม ตั้งอยู่ที่ หมู่ ๕ บ้านพุไม้แดง
    ๒ สำนักสงฆ์กัลยาธรรม ถ้ำมะซาง  ตั้งอยู่ที่ หมู่ ๔ บ้านหนองปรือ
    ๓ ที่พักสงฆ์ไม่มีชื่อ ตั้งอยู่ที่ หมู่ ๕ บ้านพุไม้แดง (ยังไม่มีการตั้งชื่ออย่างเป็นทางการ)
    - สถานปฏิบัติธรรม ๑ แห่ง
    สถานปฏิบัติอยู่เย็นเป็นสุข ตั้งอยู่ที่ หมู่ ๑ บ้านปากกิเลน
    ประชาชนตำบลสิงห์มีความยึดมั่นในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะวันสำคัญทางศาสนา ประชาชนจะเข้าวัดทำบุญกันมากตามวัดในเขตพื้นที่

  2. ด้านสาธารณสุข
    - โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่ากิเลน ตั้งอยู่ที่หมู่ ๑ บ้านปากกิเลน ตำบลสิงห์ อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี
    - อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม. )
    - อัตราการมีการใช้ส้วม ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์
    - กองทุนยาประจำหมู่บ้าน จำนวน ๖ หมู่บ้าน
    - กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลสิงห์ ได้เริ่มดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๔


    กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลสิงห์

ด้านงบประมาณ ได้รับการสนับสนุน ดังนี้
๑ เงินที่ได้รับการจัดสรรจาก สปสช. 
๒ เงินสมทบจากองค์การบริหารส่วนตำบลสิงห์ 

ด้านค่าใช้จ่ายของกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลสิงห์ จำแนกเป็น ๕ ประเภท ดังนี้

ประเภทที่ ๑ กิจกรรมเพื่อสนับสนุน และส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ หรือสถานบริการหรือหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ 

ประเภทที่ ๒ กิจกรรมเพื่อสนับสนุนให้กลุ่มหรือองค์กรประชาชน หรือหน่วยงานอื่นในพื้นที่ ได้ดำเนินงานตามแผนงาน หรือโครงการ หรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค ให้แก่สมาชิกหรือประชาชนในพื้นที่

ประเภทที่ ๓ กิจกรรมเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก

ประเภทที่ ๔ กิจกรรมเพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการบริหารหรือพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพให้มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ต้องไม่เกินร้อยละ ๑๕ ของเงินรายรับของกองทุนหลักประกันสุขภาพในแต่ละงบประมาณนั้น 

ประเภทที่ ๕ กิจกรรมกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่ ให้คณะกรรมการกองทุนพิจารณาอนุมัติจ่ายเงินกองทุนเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณสุขได้ตามความจำเป็นเหมาะสม และทันต่อสถานการณ์ได้
๑ โครงการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก ๕๑,๒๐๐.๐๐ บาท
๒ (ค่าน้ำมันฉีดพ่นหมอกควัน + ค่าตอบแทนรณรงค์) ๒๑,๐๑๑.๐๐ บาท
รวมทั้งสิ้น ๗๒,๒๑๑.๐๐ บาท

  • ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
    - สถานีตำรวจ (ป้อมประจำหมู่บ้าน) มี ๒ แห่ง ดังนี้
    ๑ จุดสกัดเมืองสิงห์ ตั้งที่ หมู่ ๑ บ้านปากกิเลน
    ๒ ป้อมปากกิเลน ตั้งที่ หมู่ ๕ พุไม้แดง
    - ความพร้อมขององค์การบริหารส่วนตำบลสิงห์
    ๑ ศูนย์อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน จำนวน ๑ แห่ง
    ๒ สมาชิกเจ้าหน้าที่อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน ๑ กลุ่ม จำนวน ๔๑ คน
    ๓ เจ้าพนักงานป้องกันภัยและบรรเทาสาธารณภัย จำนวน ๑ คน
    ๔ รถบรรทุกน้ำดับเพลิง ๑ คัน
    ๕ รถพยาบาลฉุกเฉิน ๑ คัน
    ๖ อุปกรณ์ช่วยเหลือสาธารณภัยต่างๆ
    ๗ ชุดดับเพลิงกลางแจ้ง จำนวน ๕ ชุด
    ๘ สายดับเพลิง จำนวน ๘ เส้น
    ๙ หัวฉีดดับเพลิง จำนวน ๒ ตัว
    ๑๐ กรวยจราจร จำนวน ๙๐ อัน
    ๑๑ ไฟสัญญาณจราจร จำนวน๑ ชุด
    ๑๒ เสื้อชูชีพ จำนวน ๑๕ ตัว
    ๑๓ อุปกรณ์เตือนภัย (ไซเลนมือหมุน) จำนวน ๑ ตัว


 

  • ด้านสังคมสงเคราะห์
    • ข้อมูลกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลสิงห์
      ตามนโยบายการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลสิงห์ ด้านการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ส่งเสริมให้ชุมชนพึ่งพาตัวเองรู้จักวางแผนบริหารจัดการ แก้ไขปัญหาต่างๆในชุมชน โดยสมาชิกชุมชนช่วยกันเอง รวมทั้งให้รู้จักประหยัด มีวัฒนธรรมในการออมเงิน เพื่อตอบสนองพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง จึงได้จัดตั้งกองทุนสวัสดิการชุมชนขึ้นในตำบลสิงห์ เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี ๒๕๕๕ โดยมีเป้าหมายระดมทุนเข้ากองทุนรายละ ๑ บาท ต่อ วัน เพื่อช่วยสมาชิกด้านสวัสดิการต่างๆ แก่สมาชิกในชุมชนด้วยกันเอง ตามหลักเกณฑ์ที่สมาชิกให้ความเห็นชอบผ่านคณะกรรมการดำเนินการกองทุน

  • การบริการพื้นฐาน 
    • การคมนาคม
      • ทางรถยนต์ ถนนในหมู่บ้านส่วนใหญ่ เป็นถนนลูกรังเกรด บด อัดแน่น มีถนนคอนกรีตและลาดยางในเขตชุมชนทุกหมู่บ้าน มีถนนเชื่อมต่อกับจังหวัดกาญจนบุรี และอำเภอไทรโยค จำนวน ๒ เส้นทาง คือ
        ๑ ถนนลาดยางเชื่อมระหว่างหมู่บ้านและตำบล สายลุ่มสุ่ม – บ้านเก่า ระยะทาง ๑๗ กิโลเมตร
        ๒ ถนนลาดยางเชื่อมระหว่างหมู่บ้านและตำบล สายวังสิงห์ – ยางโทนระยะทาง ๗ กิโลเมตร 
           เชื่อมต่อกับทางหลวงแผ่นดินลาดยางสาย ๓๒๓ (กาญจนบุรี – ทองผาภูมิ) 

        เส้นทางลูกรังในหมู่บ้านที่ตัดผ่านพื้นที่ทำการเกษตรจะชำรุดเสียหายในฤดูฝน ในช่วงฝนตกหนักเกิดอุทกภัยทำให้ถนนพังเสียหาย ไม่สามารถใช้เป็นเส้นทางคมนาคมได้เกือบทุกปี ทางองค์การบริหารส่วนตำบลสิงห์ ต้องเสียงบประมาณในการซ่อมแซมเป็นจำนวนมากในแต่ละปีและทางองค์การบริหารส่วนตำบลสิงห์มีงบประมาณไม่เพียงพอและภารกิจหน้าที่เป็นจำนวนมากที่จะมาดำเนินการก่อสร้างเป็นถนนคอนกรีตหรือลาดยางได้

        การเดินทางรถยนต์จากพื้นที่เข้าสู่ตัวอำเภอเมือง หรืออำเภอไทรโยค จะมีถนนทางหลวงแผ่นดินสาย ๓๒๓ กาญจนบุรี -  ทองผาภูมิ และสายกาญจนบุรี - บ้านเก่า
        บริการรถประจำทางผ่านพื้นที่ จำนวน ๒ จุด คือ วังสิงห์ และปากกิเลน การวิ่งรถประจำทาง ระยะรอบละประมาณ ๑ ชั่วโมง ประชาชนในพื้นที่ส่วนมากจึงใช้รถยนต์ส่วนตัวในการเดินทาง
      • ทางรถไฟ มีรถไฟสายธนบุรี – น้ำตก(สายสันติภาพ) ผ่านตำบลสิงห์ จำนวน  ๓ สถานี คือ สถานีท่าตาเสือ สถานีบ้านท่ากิเลน สถานีบ้านวังสิงห์ ส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวเป็นอย่างดีพื้นที่ตำบลสิงห์ เป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางรถไฟสายมรณะ หรือ ทางรถไฟสายพม่า ซึ่งทางรถไฟสายนี้สร้างขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ โดยใช้แรงงานเชลยศึกฝ่ายสัมพันธมิตรและกรรมกรชาวเอเชียที่กองทัพญี่ปุ่นเกณฑ์มาสร้าง เพื่อใช้เป็นเส้นทางยุทธศาสตร์ผ่านประเทศพม่า ปัจจุบันเส้นทางนี้ไปสุดปลายทางที่บ้านท่าเสาหรือสถานีน้ำตก ระยะทางจากสถานีกาญจนบุรีถึงสถานีน้ำตกเป็นระยะทางประมาณ ๗๗ กิโลเมตร การรถไฟแห่งประเทศไทยเปิดเดินรถบนเส้นทางนี้ทุกวันและจัดรถไฟขบวนพิเศษสายกรุงเทพฯ – น้ำตก ทุกวันเสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดราชการ นับว่าเป็นเส้นทางที่นิยมของนักท่องเที่ยวและประชาชนในพื้นที่ได้อย่างดี แต่จำกัดด้วยเที่ยวการเดินรถของการทางรถไฟแห่งประเทศไทย ประชาชนในพื้นที่จึงใช้บริการได้น้อยกว่าเส้นทางรถยนต์

        การเดินทางรถยนต์จากตำบลสิงห์เข้าสู่อำเภอเมือง หรืออำเภอไทรโยค มีบริการรถประจำทาง เส้นทางหลวงแผ่นดินสาย ๓๒๓ กาญจนบุรี – ทองผาภูมิ หมายเลข ๘๒๐๓ มีศาลาเป็นจุดรับผู้โดยสาร จำนวน ๓ จุด ที่ผ่านหมู่บ้านในเขตพื้นที่ตำบลสิงห์ ได้แก่ หมู่ ๑ บ้านปากกิเลน หมู่ ๒ บ้านวังสิงห์ และ หมู่ ๕ บ้านพุไม้แดง แต่ด้วยเที่ยวการวิ่งรถประจำทาง ใช้ระยะเวลารอบละประมาณ ๑ ชั่วโมง ประชาชนในพื้นที่ส่วนมากจึงใช้รถยนต์ส่วนตัวในการเดินทาง โดยใช้ถนนเส้นทางหลวงแผ่นดินสาย ๓๒๓ กาญจนบุรี –  ทองผาภูมิ และ สายกาญจนบุรี – บ้านเก่า

        การคมนาคมของเส้นทางถนนภายในพื้นที่ เป็นถนนลาดยางและคอนกรีตเสริมเหล็กจำนวน ๒๓ เส้น และถนนลูกรังจำนวน ๔๘ เส้น โดยส่วนใหญ่จะเส้นทางลูกรังในหมู่บ้านที่ตัดผ่านพื้นที่ทำการเกษตร และมักพบการชำรุดเสียหายในฤดูฝน  ในช่วงฝนตกหนักเกิดอุทกภัยทำให้ถนนพังเสียหาย ไม่สามารถใช้เป็นเส้นทางคมนาคมได้เกือบทุกปี ทางองค์การบริหารส่วนตำบลสิงห์ ต้องเสียงบประมาณในการซ่อมแซมเป็นจำนวนมากในแต่ละปีและด้วยข้อจำกัดของการบริการจัดการตามภารกิจหน้าที่ในด้านอื่นๆ งบประมาณที่จะมาดำเนินการก่อสร้างเป็นถนนคอนกรีตหรือลาดยางจึงไม่เพียงพอ
    • การโทรคมนาคม
      - ที่ทำการไปรษณีย์ย่อย ๑ แห่ง อยู่ที่ หมู่ ๑ บ้านปากกิเลน
      - หมายเลขโทรศัพท์บ้านมี ๓ หมู่บ้าน คือ ที่ หมู่ ๑ ปากกิเลน หมู่ ๔ บ้านหนองปรือ และที่ หมู่ ๖ ท่าตาเสือ โทรศัพท์สาธารณะปัจจุบันมีทุกหมู่บ้านหมู่บ้านละ ๒ - ๓ ตู้
      - ในปัจจุบันตำบลสิงห์ มีสัญญาณเครือข่ายโทรศัพท์มือถือครอบคลุมครบทุกหมู่บ้านและครบทุกเครือข่าย
      - สัญญาณอินเทอร์เน็ตบริการฟรี มีให้บริการ ที่ทำการ องค์การบริหารส่วนตำบลสิงห์ และบริการจากรัฐบาล ตามโครงการ “เน็ตประชารัฐ” ให้บริการที่ศาลาหมู่ ๒ บ้านวังสิงห์ หมู่ ๓ บ้านหนองปลาไหล และ หมู่ ๖ บ้านท่าตาเสือ
    • การไฟฟ้า
      • ตำบลสิงห์ ทุกครัวเรือนมีไฟฟ้าครบ ๑๐๐ % แต่ประสบปัญหาหระแสไฟฟ้าขัดข้องในช่วงฤดูฝนบ่อยครั้ง
    • แหล่งน้ำธรรมชาติ
      • แม่น้ำแควน้อยไหลผ่านตลอดแนวเขตของตำบล ด้านทิศตะวันตก
      • ลำห้วยสองพี่น้องจะไหลจากที่ราบเชิงเขา บริเวณเขาสามชั้นพื้นที่ประมาณ ๒,๐๐๐ ไร่ มีห้วยเล็กๆ ๒ ลำห้วย ไหลมาบรรจบกันบริเวณคุ้มบ้านเนินกรวด ไหลผ่านท่อลอดถนนสายกาญจนบุรี – ทองผาภูมิ บริเวณทางเข้า วัดหลวงตามหาบัวญาณสัมปันโน รวมเป็นลำห้วยเดียว ลงตามลำห้วยผ่านสะพานข้ามลำห้วยบนเส้นทาง สายลุ่มสุ่ม - บ้านเก่า ลงสู่แม่น้ำแควน้อยทางทิศตะวันตก โดยมีฝายกั้นน้ำเพื่อเก็บน้ำไว้ใช้ในด้านการเกษตรในฤดูแล้ง ช่วงต้นลำห้วย ๑ ฝาย ทางด้านล่างของลำห้วยยังไม่มีฝายกั้นน้ำ
      • ลำห้วยมะไฟ มีต้นกำเนิดจากเขาเมืองครุฑ ไหลลงสู่แม่น้ำแควน้อยที่หมู่ ๖ บ้านท่าตาเสือมีฝายกั้นน้ำ ๑ ฝาย อยู่ที่ปลายลำห้วยสำหรับราษฎรได้ใช้น้ำเพื่อเกษตรกรรมแต่ใช้ได้เฉพาะปลายลำห้วยเท่านั้นยังไม่เพียงพอจึงต้องทำการก่อสร้างฝายอีก ๑ ฝายบริเวณกลางลำห้วยเพื่อให้ราษฎรได้ใช้น้ำเพื่อการเกษตรได้ตลอดทั้งปี
    • ระบบประปาหมู่บ้าน
      • มีระบบน้ำประปาทุกหมู่บ้านที่ใช้แหล่งน้ำจากแม่น้ำแควน้อย และบ่อบาดาล มีระบบกรองน้ำและผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว ๓ แห่ง อีก ๑๐ แห่ง ยังไม่มีการกระบวนการกรองและฆ่าเชื่อแต่อย่างใด หมู่บ้านที่ใช้น้ำจากแม่น้ำแควน้อยเป็นระบบประปา ๔ หมู่บ้าน คือ หมู่ ๑, หมู่ ๓, หมู่ ๔ และหมู่ ๖ หมู่บ้านที่ใช้น้ำบาดาลมี ๒ หมู่บ้าน คือ หมู่ ๒ จำนวน ๒ บ่อ, หมู่ ๕ จำนวน ๕ บ่อ , หมู่ ๖ ใช้น้ำจากบ่อน้ำตื้นจำนวน ๑ บ่อ
        ระบบประปาตำบลสิงห์ ใช้การบริหารบริหารจัดการระบบประปา โดยมีคณะกรรมการบริหารจัดการ เพื่อให้การดำเนินการดูแล บำรุงรักษา ซ่อมแซม ระบบประปาเป็นไปด้วยความรวดเร็ว เพราะหากระบบประปาอยู่ในบริหารจัดการขององค์การบริหารส่วนตำบลสิงห์ จะต้องดำเนินการภายใต้ระเบียบของทางราชการที่มีอยู่ จึงไม่สามารถบำรุงรักษา และดูแลให้ประชาชนได้อย่างทันถ่วงที
        สระน้ำ สระเก็บน้ำประจำหมู่บ้านเป็นสระเก็บน้ำสาธารณะ จำนวน ๑๐ แห่ง ดังนี้
        หมู่ ๑ จำนวน ๓ แห่ง หมู่ ๔ จำนวน ๒ แห่ง
        หมู่ ๒ จำนวน ๑ แห่ง หมู่ ๕ จำนวน ๓ แห่ง
        หมู่ ๓ จำนวน ๑ แห่ง
        โดยมีสระน้ำที่สามารถเก็บน้ำได้เฉพาะในฤดูฝนเท่านั้นจำนวน ๓ แห่ง คือ
        หมู่ ๑ จำนวน ๑ แห่ง ที่บ้านท่ามะกรูด
        หมู่ ๒ จำนวน ๑ แห่ง ที่บ้านชัดหนองแดง
        หมู่ ๓ จำนวน ๑ แห่ง ที่บ้านหนองปลาไหล
    • คลองสูบน้ำด้วยพลังงานไฟฟ้าเพื่อการเกษตรตำบลสิงห์
      ตำบลสิงห์มีสถานีสูบน้ำด้วยพลังงานไฟฟ้า จำนวน ๕ สถานี โดยรับการถ่ายโอนจากชลประทาน เมื่อ ปี ๒๕๕๖ เพื่อให้สามารถสูบน้ำแม่น้ำแควน้อยที่ไหลผ่านตำบลสิงห์ มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในด้านการเกษตร แต่ด้วยแนวการวางท่อและความลาดเอียงของพื้นที่ ทำให้การบริการสูบน้ำด้วยพลังงานไฟฟ้าตำบลสิงห์เป็นไปได้ไม่ทั่วถึงทุกพื้นที่และปริมาณการสูบน้ำได้ไม่ตรงต่อความต้องการของประชาชนเพราะพื้นที่มักมีสภาวการณ์ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล อากาศแห้งแล้งยาวนาน ทำให้ประชาชนมีความต้องการใช้น้ำจากคลองสูบน้ำเพื่อการเกษตรเป็นจำนวนมาก ส่งผลต่อผลผลิตทางการเกษตรของพื้นที่

  • ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่
    • ป่าไม้ พื้นที่ส่วนใหญ่ของตำบลสิงห์ เป็นที่ราบเชิงเขาลาดเอียงลงสู่แม่น้ำ เกษตรกร ใช้พื้นที่ในการทำไร่ ได้แก่ ปลูกมันสำปะหลัง ปลูกอ้อย และพืชไร่อื่นๆ เป็นพื้นที่เขตปฏิรูปที่ดินในพื้นที่หวงห้ามทางทหารบางส่วนเป็นภูเขาป่าเบญจพรรณปกคลุมโดยทั่วไป ในแถบที่ราบเชิงเขาเกือบทุกหมู่บ้านในเขตตำบล หรือประมาณร้อยละ ๑๐ ของพื้นที่ มีป่าไม้เบญจพรรณและป่าไผ่จะเหลืออยู่แต่เฉพาะบนเขา เนื่องจากการบุกรุกทำลาย เพื่อต้องการที่ทำกินและนำไม้มาทำเฟอร์นิเจอร์หรือ เผาถ่านขาย และได้การจัดตั้งโครงการป่าชุมชนขึ้น ที่หมู่ ๒, ๔, ๕ พื้นที่โดยรวมประมาณ ๑,๗๐๐ ไร่
    • แร่ธาตุ ในพื้นที่ตำบลมีแร่ธาตุที่สำคัญได้แก่ ฟอสเฟส , ดีบุก, วูลแฟรม, แคลไซด์ และในปัจจุบันเริ่มมีผู้ประกอบการเข้ามาขอประทานบัตร ทำเหมืองแร่โดโลไมค์ แล้ว และมีผู้ประกอบการผ่านการขอประทานบัตรและดำเนินการ ขุด เจาะ บดแต่ง แร่โดโลไมค์ แล้ว จำนวน ๑ ราย

 

แหล่งท่องเที่ยว

มีสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ คือ อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์(ปราสาทเมืองสิงห์ ป่าชุมชนบ้านวังสิงห์

 
 
แผนที่ตำบลสิงห์โดยสังเขป
 
แผนที่ตำบลสิงห์โดยสังเขป
 
 
  
ภาพแสดงข้อมูลทั่วไปและข้อมูลสถิติพื้นที่ทางการเกษตรและประชากรสัตว์เลี้ยงในพื้นที่ตำบลสิงห์

 
 



รู้จัก...องค์การบริหารส่วนตำบลสิงห์
องค์การบริหารส่วนตำบลสิงห์ จัดตั้งตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ มาตรา ๔๐ และมาตรา ๔๑ และตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล โดยให้มีการจัดตั้งสภาตำบลที่มีรายได้โดยไม่รวมเงินอุดหนุนในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๓๖ ถึงปี พ.ศ. ๒๕๓๘ เฉลี่ยไม่ต่ำกว่าปีละ ๑๕๐,๐๐๐ บาท
 

สภาตำบลสิงห์ อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี จึงได้รับการยกฐานะเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลสิงห์ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล ลงวันที่วันที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๙ เลือกตั้งครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๓๙ องค์การบริหารส่วนตำบลสิงห์ ได้รับการยกฐานะจากองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดเล็ก เป็น องค์การบริหารส่วนตำบลสิงห์ ขนาดกลาง ในการประชุมคณะกรรมการพนักงานส่วนตำบลจังหวัดกาญจนบุรี ครั้งที่ ๑ / ๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๑ และประกาศเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล ขนาดกลาง เมื่อวันที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๕๒


 
 
 
 

ภาพแผนที่ดาวเทียมจาก:googlemap

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้