สภาพสังคม - ด้านการศึกษา
- โรงเรียนประถมศึกษา มี ๓ แห่ง คือ ๑ โรงเรียนวัดปากกิเลน ๒ โรงเรียนบ้านหนองปรือ ๓ โรงเรียนบ้านท่าตาเสือ - โรงเรียนประถมศึกษาขยายโอกาส เปิดสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มี ๑ แห่ง ที่ โรงเรียนบ้านวังสิงห์ หมู่ ๒ ตำบลสิงห์ อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี
เมื่อนักเรียนจบการศึกษาจากในระดับประถมศึกษาจากโรงเรียนในพื้นที่ จะเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนขยายโอกาสในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่ โรงเรียนบ้านวังสิงห์ หมู่ ๒ ตำบลสิงห์ อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี หรือในระดับมัธยมศึกษาต้อนต้นถึงตอนปลาย ที่ โรงเรียนไทรโยคมณีกาญจน์วิทยา โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรี ๑ (บ้านเก่าวิทยา) และมีบางส่วนเลือกศึกษาต่อในโรงเรียนของอำเภอเมือง - ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มี ๒ แห่ง ๑. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านปากกิเลน ตั้งอยู่ที่ ๑ ตำบลสิงห์ อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี ๒. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านวังสิงห์ ตั้งอยู่ที่ ๒ ตำบลสิงห์ อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี
- สถาบันและองค์กรทางศาสนา
- วัด มี ๗ แห่ง ๑ วัดปากกิเลน ๒ วัดสิงห์ไพบูลย์ประชาสรรค์ ๓ วัดถ้ำเสือดาว ๔ วัดหนองปรือ ๕ วัดพุปลู ๖ วัดป่าหลวงตามหาบัวญาณสัมปันโน ๗ วัดท่าตาเสือ - สำนักสงฆ์ มี ๓ แห่ง ๑ ที่พักสงฆ์สันติกาญจน์เจริญธรรม ตั้งอยู่ที่ หมู่ ๕ บ้านพุไม้แดง ๒ สำนักสงฆ์กัลยาธรรม ถ้ำมะซาง ตั้งอยู่ที่ หมู่ ๔ บ้านหนองปรือ ๓ ที่พักสงฆ์ไม่มีชื่อ ตั้งอยู่ที่ หมู่ ๕ บ้านพุไม้แดง (ยังไม่มีการตั้งชื่ออย่างเป็นทางการ) - สถานปฏิบัติธรรม ๑ แห่ง สถานปฏิบัติอยู่เย็นเป็นสุข ตั้งอยู่ที่ หมู่ ๑ บ้านปากกิเลน ประชาชนตำบลสิงห์มีความยึดมั่นในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะวันสำคัญทางศาสนา ประชาชนจะเข้าวัดทำบุญกันมากตามวัดในเขตพื้นที่
- ด้านสาธารณสุข
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่ากิเลน ตั้งอยู่ที่หมู่ ๑ บ้านปากกิเลน ตำบลสิงห์ อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี - อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม. ) - อัตราการมีการใช้ส้วม ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ - กองทุนยาประจำหมู่บ้าน จำนวน ๖ หมู่บ้าน - กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลสิงห์ ได้เริ่มดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๔
กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลสิงห์
ด้านงบประมาณ ได้รับการสนับสนุน ดังนี้ ๑ เงินที่ได้รับการจัดสรรจาก สปสช. ๒ เงินสมทบจากองค์การบริหารส่วนตำบลสิงห์
ด้านค่าใช้จ่ายของกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลสิงห์ จำแนกเป็น ๕ ประเภท ดังนี้
ประเภทที่ ๑ กิจกรรมเพื่อสนับสนุน และส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ หรือสถานบริการหรือหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ ประเภทที่ ๒ กิจกรรมเพื่อสนับสนุนให้กลุ่มหรือองค์กรประชาชน หรือหน่วยงานอื่นในพื้นที่ ได้ดำเนินงานตามแผนงาน หรือโครงการ หรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค ให้แก่สมาชิกหรือประชาชนในพื้นที่ ประเภทที่ ๓ กิจกรรมเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก
ประเภทที่ ๔ กิจกรรมเพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการบริหารหรือพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพให้มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ต้องไม่เกินร้อยละ ๑๕ ของเงินรายรับของกองทุนหลักประกันสุขภาพในแต่ละงบประมาณนั้น ประเภทที่ ๕ กิจกรรมกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่ ให้คณะกรรมการกองทุนพิจารณาอนุมัติจ่ายเงินกองทุนเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณสุขได้ตามความจำเป็นเหมาะสม และทันต่อสถานการณ์ได้ ๑ โครงการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก ๕๑,๒๐๐.๐๐ บาท ๒ (ค่าน้ำมันฉีดพ่นหมอกควัน + ค่าตอบแทนรณรงค์) ๒๑,๐๑๑.๐๐ บาท รวมทั้งสิ้น ๗๒,๒๑๑.๐๐ บาท - ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
- สถานีตำรวจ (ป้อมประจำหมู่บ้าน) มี ๒ แห่ง ดังนี้ ๑ จุดสกัดเมืองสิงห์ ตั้งที่ หมู่ ๑ บ้านปากกิเลน ๒ ป้อมปากกิเลน ตั้งที่ หมู่ ๕ พุไม้แดง - ความพร้อมขององค์การบริหารส่วนตำบลสิงห์ ๑ ศูนย์อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน จำนวน ๑ แห่ง ๒ สมาชิกเจ้าหน้าที่อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน ๑ กลุ่ม จำนวน ๔๑ คน ๓ เจ้าพนักงานป้องกันภัยและบรรเทาสาธารณภัย จำนวน ๑ คน ๔ รถบรรทุกน้ำดับเพลิง ๑ คัน ๕ รถพยาบาลฉุกเฉิน ๑ คัน ๖ อุปกรณ์ช่วยเหลือสาธารณภัยต่างๆ ๗ ชุดดับเพลิงกลางแจ้ง จำนวน ๕ ชุด ๘ สายดับเพลิง จำนวน ๘ เส้น ๙ หัวฉีดดับเพลิง จำนวน ๒ ตัว ๑๐ กรวยจราจร จำนวน ๙๐ อัน ๑๑ ไฟสัญญาณจราจร จำนวน๑ ชุด ๑๒ เสื้อชูชีพ จำนวน ๑๕ ตัว ๑๓ อุปกรณ์เตือนภัย (ไซเลนมือหมุน) จำนวน ๑ ตัว
- ด้านสังคมสงเคราะห์
- ข้อมูลกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลสิงห์
ตามนโยบายการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลสิงห์ ด้านการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ส่งเสริมให้ชุมชนพึ่งพาตัวเองรู้จักวางแผนบริหารจัดการ แก้ไขปัญหาต่างๆในชุมชน โดยสมาชิกชุมชนช่วยกันเอง รวมทั้งให้รู้จักประหยัด มีวัฒนธรรมในการออมเงิน เพื่อตอบสนองพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง จึงได้จัดตั้งกองทุนสวัสดิการชุมชนขึ้นในตำบลสิงห์ เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี ๒๕๕๕ โดยมีเป้าหมายระดมทุนเข้ากองทุนรายละ ๑ บาท ต่อ วัน เพื่อช่วยสมาชิกด้านสวัสดิการต่างๆ แก่สมาชิกในชุมชนด้วยกันเอง ตามหลักเกณฑ์ที่สมาชิกให้ความเห็นชอบผ่านคณะกรรมการดำเนินการกองทุน
- การบริการพื้นฐาน
- การคมนาคม
- ทางรถยนต์ ถนนในหมู่บ้านส่วนใหญ่ เป็นถนนลูกรังเกรด บด อัดแน่น มีถนนคอนกรีตและลาดยางในเขตชุมชนทุกหมู่บ้าน มีถนนเชื่อมต่อกับจังหวัดกาญจนบุรี และอำเภอไทรโยค จำนวน ๒ เส้นทาง คือ
๑ ถนนลาดยางเชื่อมระหว่างหมู่บ้านและตำบล สายลุ่มสุ่ม – บ้านเก่า ระยะทาง ๑๗ กิโลเมตร ๒ ถนนลาดยางเชื่อมระหว่างหมู่บ้านและตำบล สายวังสิงห์ – ยางโทนระยะทาง ๗ กิโลเมตร เชื่อมต่อกับทางหลวงแผ่นดินลาดยางสาย ๓๒๓ (กาญจนบุรี – ทองผาภูมิ)
เส้นทางลูกรังในหมู่บ้านที่ตัดผ่านพื้นที่ทำการเกษตรจะชำรุดเสียหายในฤดูฝน ในช่วงฝนตกหนักเกิดอุทกภัยทำให้ถนนพังเสียหาย ไม่สามารถใช้เป็นเส้นทางคมนาคมได้เกือบทุกปี ทางองค์การบริหารส่วนตำบลสิงห์ ต้องเสียงบประมาณในการซ่อมแซมเป็นจำนวนมากในแต่ละปีและทางองค์การบริหารส่วนตำบลสิงห์มีงบประมาณไม่เพียงพอและภารกิจหน้าที่เป็นจำนวนมากที่จะมาดำเนินการก่อสร้างเป็นถนนคอนกรีตหรือลาดยางได้
การเดินทางรถยนต์จากพื้นที่เข้าสู่ตัวอำเภอเมือง หรืออำเภอไทรโยค จะมีถนนทางหลวงแผ่นดินสาย ๓๒๓ กาญจนบุรี - ทองผาภูมิ และสายกาญจนบุรี - บ้านเก่า บริการรถประจำทางผ่านพื้นที่ จำนวน ๒ จุด คือ วังสิงห์ และปากกิเลน การวิ่งรถประจำทาง ระยะรอบละประมาณ ๑ ชั่วโมง ประชาชนในพื้นที่ส่วนมากจึงใช้รถยนต์ส่วนตัวในการเดินทาง
- ทางรถไฟ มีรถไฟสายธนบุรี – น้ำตก(สายสันติภาพ) ผ่านตำบลสิงห์ จำนวน ๓ สถานี คือ สถานีท่าตาเสือ สถานีบ้านท่ากิเลน สถานีบ้านวังสิงห์ ส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวเป็นอย่างดีพื้นที่ตำบลสิงห์ เป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางรถไฟสายมรณะ หรือ ทางรถไฟสายพม่า ซึ่งทางรถไฟสายนี้สร้างขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ โดยใช้แรงงานเชลยศึกฝ่ายสัมพันธมิตรและกรรมกรชาวเอเชียที่กองทัพญี่ปุ่นเกณฑ์มาสร้าง เพื่อใช้เป็นเส้นทางยุทธศาสตร์ผ่านประเทศพม่า ปัจจุบันเส้นทางนี้ไปสุดปลายทางที่บ้านท่าเสาหรือสถานีน้ำตก ระยะทางจากสถานีกาญจนบุรีถึงสถานีน้ำตกเป็นระยะทางประมาณ ๗๗ กิโลเมตร การรถไฟแห่งประเทศไทยเปิดเดินรถบนเส้นทางนี้ทุกวันและจัดรถไฟขบวนพิเศษสายกรุงเทพฯ – น้ำตก ทุกวันเสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดราชการ นับว่าเป็นเส้นทางที่นิยมของนักท่องเที่ยวและประชาชนในพื้นที่ได้อย่างดี แต่จำกัดด้วยเที่ยวการเดินรถของการทางรถไฟแห่งประเทศไทย ประชาชนในพื้นที่จึงใช้บริการได้น้อยกว่าเส้นทางรถยนต์
การเดินทางรถยนต์จากตำบลสิงห์เข้าสู่อำเภอเมือง หรืออำเภอไทรโยค มีบริการรถประจำทาง เส้นทางหลวงแผ่นดินสาย ๓๒๓ กาญจนบุรี – ทองผาภูมิ หมายเลข ๘๒๐๓ มีศาลาเป็นจุดรับผู้โดยสาร จำนวน ๓ จุด ที่ผ่านหมู่บ้านในเขตพื้นที่ตำบลสิงห์ ได้แก่ หมู่ ๑ บ้านปากกิเลน หมู่ ๒ บ้านวังสิงห์ และ หมู่ ๕ บ้านพุไม้แดง แต่ด้วยเที่ยวการวิ่งรถประจำทาง ใช้ระยะเวลารอบละประมาณ ๑ ชั่วโมง ประชาชนในพื้นที่ส่วนมากจึงใช้รถยนต์ส่วนตัวในการเดินทาง โดยใช้ถนนเส้นทางหลวงแผ่นดินสาย ๓๒๓ กาญจนบุรี – ทองผาภูมิ และ สายกาญจนบุรี – บ้านเก่า
การคมนาคมของเส้นทางถนนภายในพื้นที่ เป็นถนนลาดยางและคอนกรีตเสริมเหล็กจำนวน ๒๓ เส้น และถนนลูกรังจำนวน ๔๘ เส้น โดยส่วนใหญ่จะเส้นทางลูกรังในหมู่บ้านที่ตัดผ่านพื้นที่ทำการเกษตร และมักพบการชำรุดเสียหายในฤดูฝน ในช่วงฝนตกหนักเกิดอุทกภัยทำให้ถนนพังเสียหาย ไม่สามารถใช้เป็นเส้นทางคมนาคมได้เกือบทุกปี ทางองค์การบริหารส่วนตำบลสิงห์ ต้องเสียงบประมาณในการซ่อมแซมเป็นจำนวนมากในแต่ละปีและด้วยข้อจำกัดของการบริการจัดการตามภารกิจหน้าที่ในด้านอื่นๆ งบประมาณที่จะมาดำเนินการก่อสร้างเป็นถนนคอนกรีตหรือลาดยางจึงไม่เพียงพอ
- การโทรคมนาคม
- ที่ทำการไปรษณีย์ย่อย ๑ แห่ง อยู่ที่ หมู่ ๑ บ้านปากกิเลน - หมายเลขโทรศัพท์บ้านมี ๓ หมู่บ้าน คือ ที่ หมู่ ๑ ปากกิเลน หมู่ ๔ บ้านหนองปรือ และที่ หมู่ ๖ ท่าตาเสือ โทรศัพท์สาธารณะปัจจุบันมีทุกหมู่บ้านหมู่บ้านละ ๒ - ๓ ตู้ - ในปัจจุบันตำบลสิงห์ มีสัญญาณเครือข่ายโทรศัพท์มือถือครอบคลุมครบทุกหมู่บ้านและครบทุกเครือข่าย - สัญญาณอินเทอร์เน็ตบริการฟรี มีให้บริการ ที่ทำการ องค์การบริหารส่วนตำบลสิงห์ และบริการจากรัฐบาล ตามโครงการ “เน็ตประชารัฐ” ให้บริการที่ศาลาหมู่ ๒ บ้านวังสิงห์ หมู่ ๓ บ้านหนองปลาไหล และ หมู่ ๖ บ้านท่าตาเสือ
- การไฟฟ้า
- ตำบลสิงห์ ทุกครัวเรือนมีไฟฟ้าครบ ๑๐๐ % แต่ประสบปัญหาหระแสไฟฟ้าขัดข้องในช่วงฤดูฝนบ่อยครั้ง
- แหล่งน้ำธรรมชาติ
- แม่น้ำแควน้อยไหลผ่านตลอดแนวเขตของตำบล ด้านทิศตะวันตก
- ลำห้วยสองพี่น้องจะไหลจากที่ราบเชิงเขา บริเวณเขาสามชั้นพื้นที่ประมาณ ๒,๐๐๐ ไร่ มีห้วยเล็กๆ ๒ ลำห้วย ไหลมาบรรจบกันบริเวณคุ้มบ้านเนินกรวด ไหลผ่านท่อลอดถนนสายกาญจนบุรี – ทองผาภูมิ บริเวณทางเข้า วัดหลวงตามหาบัวญาณสัมปันโน รวมเป็นลำห้วยเดียว ลงตามลำห้วยผ่านสะพานข้ามลำห้วยบนเส้นทาง สายลุ่มสุ่ม - บ้านเก่า ลงสู่แม่น้ำแควน้อยทางทิศตะวันตก โดยมีฝายกั้นน้ำเพื่อเก็บน้ำไว้ใช้ในด้านการเกษตรในฤดูแล้ง ช่วงต้นลำห้วย ๑ ฝาย ทางด้านล่างของลำห้วยยังไม่มีฝายกั้นน้ำ
- ลำห้วยมะไฟ มีต้นกำเนิดจากเขาเมืองครุฑ ไหลลงสู่แม่น้ำแควน้อยที่หมู่ ๖ บ้านท่าตาเสือมีฝายกั้นน้ำ ๑ ฝาย อยู่ที่ปลายลำห้วยสำหรับราษฎรได้ใช้น้ำเพื่อเกษตรกรรมแต่ใช้ได้เฉพาะปลายลำห้วยเท่านั้นยังไม่เพียงพอจึงต้องทำการก่อสร้างฝายอีก ๑ ฝายบริเวณกลางลำห้วยเพื่อให้ราษฎรได้ใช้น้ำเพื่อการเกษตรได้ตลอดทั้งปี
- ระบบประปาหมู่บ้าน
- มีระบบน้ำประปาทุกหมู่บ้านที่ใช้แหล่งน้ำจากแม่น้ำแควน้อย และบ่อบาดาล มีระบบกรองน้ำและผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว ๓ แห่ง อีก ๑๐ แห่ง ยังไม่มีการกระบวนการกรองและฆ่าเชื่อแต่อย่างใด หมู่บ้านที่ใช้น้ำจากแม่น้ำแควน้อยเป็นระบบประปา ๔ หมู่บ้าน คือ หมู่ ๑, หมู่ ๓, หมู่ ๔ และหมู่ ๖ หมู่บ้านที่ใช้น้ำบาดาลมี ๒ หมู่บ้าน คือ หมู่ ๒ จำนวน ๒ บ่อ, หมู่ ๕ จำนวน ๕ บ่อ , หมู่ ๖ ใช้น้ำจากบ่อน้ำตื้นจำนวน ๑ บ่อ
ระบบประปาตำบลสิงห์ ใช้การบริหารบริหารจัดการระบบประปา โดยมีคณะกรรมการบริหารจัดการ เพื่อให้การดำเนินการดูแล บำรุงรักษา ซ่อมแซม ระบบประปาเป็นไปด้วยความรวดเร็ว เพราะหากระบบประปาอยู่ในบริหารจัดการขององค์การบริหารส่วนตำบลสิงห์ จะต้องดำเนินการภายใต้ระเบียบของทางราชการที่มีอยู่ จึงไม่สามารถบำรุงรักษา และดูแลให้ประชาชนได้อย่างทันถ่วงที สระน้ำ สระเก็บน้ำประจำหมู่บ้านเป็นสระเก็บน้ำสาธารณะ จำนวน ๑๐ แห่ง ดังนี้ หมู่ ๑ จำนวน ๓ แห่ง หมู่ ๔ จำนวน ๒ แห่ง หมู่ ๒ จำนวน ๑ แห่ง หมู่ ๕ จำนวน ๓ แห่ง หมู่ ๓ จำนวน ๑ แห่ง โดยมีสระน้ำที่สามารถเก็บน้ำได้เฉพาะในฤดูฝนเท่านั้นจำนวน ๓ แห่ง คือ หมู่ ๑ จำนวน ๑ แห่ง ที่บ้านท่ามะกรูด หมู่ ๒ จำนวน ๑ แห่ง ที่บ้านชัดหนองแดง หมู่ ๓ จำนวน ๑ แห่ง ที่บ้านหนองปลาไหล
- คลองสูบน้ำด้วยพลังงานไฟฟ้าเพื่อการเกษตรตำบลสิงห์
ตำบลสิงห์มีสถานีสูบน้ำด้วยพลังงานไฟฟ้า จำนวน ๕ สถานี โดยรับการถ่ายโอนจากชลประทาน เมื่อ ปี ๒๕๕๖ เพื่อให้สามารถสูบน้ำแม่น้ำแควน้อยที่ไหลผ่านตำบลสิงห์ มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในด้านการเกษตร แต่ด้วยแนวการวางท่อและความลาดเอียงของพื้นที่ ทำให้การบริการสูบน้ำด้วยพลังงานไฟฟ้าตำบลสิงห์เป็นไปได้ไม่ทั่วถึงทุกพื้นที่และปริมาณการสูบน้ำได้ไม่ตรงต่อความต้องการของประชาชนเพราะพื้นที่มักมีสภาวการณ์ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล อากาศแห้งแล้งยาวนาน ทำให้ประชาชนมีความต้องการใช้น้ำจากคลองสูบน้ำเพื่อการเกษตรเป็นจำนวนมาก ส่งผลต่อผลผลิตทางการเกษตรของพื้นที่
- ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่
- ป่าไม้ พื้นที่ส่วนใหญ่ของตำบลสิงห์ เป็นที่ราบเชิงเขาลาดเอียงลงสู่แม่น้ำ เกษตรกร ใช้พื้นที่ในการทำไร่ ได้แก่ ปลูกมันสำปะหลัง ปลูกอ้อย และพืชไร่อื่นๆ เป็นพื้นที่เขตปฏิรูปที่ดินในพื้นที่หวงห้ามทางทหารบางส่วนเป็นภูเขาป่าเบญจพรรณปกคลุมโดยทั่วไป ในแถบที่ราบเชิงเขาเกือบทุกหมู่บ้านในเขตตำบล หรือประมาณร้อยละ ๑๐ ของพื้นที่ มีป่าไม้เบญจพรรณและป่าไผ่จะเหลืออยู่แต่เฉพาะบนเขา เนื่องจากการบุกรุกทำลาย เพื่อต้องการที่ทำกินและนำไม้มาทำเฟอร์นิเจอร์หรือ เผาถ่านขาย และได้การจัดตั้งโครงการป่าชุมชนขึ้น ที่หมู่ ๒, ๔, ๕ พื้นที่โดยรวมประมาณ ๑,๗๐๐ ไร่
- แร่ธาตุ ในพื้นที่ตำบลมีแร่ธาตุที่สำคัญได้แก่ ฟอสเฟส , ดีบุก, วูลแฟรม, แคลไซด์ และในปัจจุบันเริ่มมีผู้ประกอบการเข้ามาขอประทานบัตร ทำเหมืองแร่โดโลไมค์ แล้ว และมีผู้ประกอบการผ่านการขอประทานบัตรและดำเนินการ ขุด เจาะ บดแต่ง แร่โดโลไมค์ แล้ว จำนวน ๑ ราย
|